ใช้หนังสือให้เป็น…ลูกเก่งและฉลาด ช่วงที่ 3

เดฟ เอลลิส (Dave Ellis) ผู้ให้คำปรึกษาด้านการเรียนเพื่อพัฒนาให้เด็ก “เรียนเก่ง” กล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า “มีเหตุผลเดียวที่คนเราไม่เขียนอะไรลงไปในหนังสือ เพราะเรากลัวว่าเมื่อนำไปขายต่อจะไม่ได้ราคา ซึ่งแท้จริงแล้วประโยชน์ที่ได้จากการเขียนลงไปในหนังสือนั้น มีมากกว่าที่ได้รับจากการขายไม่รู้กี่เท่า”

อย่างไรก็ตาม ผมไม่ได้แนะนำให้ทำวิธีนี้สำหรับหนังสือทุกประเภท แต่เฉพาะหนังสือ “ของเรา” ที่เราเป็นเจ้าของเท่านั้น

kriengsak chareonwongsak kidหนังสือบางเล่มที่เราต้องการเก็บไว้เป็นหนังสืออ้างอิง หนังสือที่ต้องใช้หลาย ๆ คน หนังสือที่จะเก็บไว้ในห้องสมุด หนังสือที่ต้องใช้ร่วมกับผู้อื่น หนังสือประเภทนี้เราควรใช้อย่างมีมารยาทและเห็นแก่ผู้อื่น โดยไม่จดข้อความหรือขีดเขียนสิ่งใดลงไป ไม่พับหนังสือหรือวางคว่ำหน้าลงเพราะหนังสืออาจจะหักหรือเสียหายได้ ในการอ่านควรดูแลให้หนังสืออยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ร่วมกับผู้อื่น ทุกคนได้ประโยชน์ในการใช้ร่วมกัน

ส่วนหนังสือที่เป็นหนังสือของเราเอง ทั้งหนังสือเรียน ตำรา ที่ใช้ประกอบการเรียน หนังสืออ่านเพิ่มเติม หรือแม้กระทั่งหนังสือที่ซื้อมาอ่านเล่น หนังสือประเภทนี้เป็นของส่วนตัวของเราเอง จึงควรใช้หนังสือให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีเป้าหมายเพื่อ “การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์” ด้วยการฝึกให้ลูกอ่าน คิด และขีดเขียน อันเป็นการอ่านอย่างมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เขียน ซึ่งจะเกิดขึ้น เมื่อเราคิดและเขียนบางอย่างลงไป เหมือนกับเราได้พูดคุยกับผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องนั้น

จากหนังสือ แม่และเด็ก
ใช้หนังสือให้เป็น…ลูกเก่งและฉลาด ช่วงที่ 1
ใช้หนังสือให้เป็น…ลูกเก่งและฉลาด ช่วงที่ 2
ใช้หนังสือให้เป็น…ลูกเก่งและฉลาด ช่วงที่ 3
คำแนะนำภาคปฏิบัติ เพื่อลูกอ่านหนังสืออย่างนักเรียนรู้

Dr Kriengsak Chareonwongsak
Senior Fellow, Harvard Kennedy School , Harvard University
kriengsak@kriengsak.com, kriengsak.com, drdancando.com

ใส่ความเห็น